เมนู

คำว่า ปรินิพฺพาเน ญาณํ - ญาณในปรินิพพาน ความว่า
ญาณอันเป็นไปแล้ว ในกิเลสปรินิพพานและขันธปรินิพพานนั้น ของ
พระอรหันต์ผู้พิจารณาอยู่ซึ่งความดับไป คือความไม่เป็นไปแห่งกิเลส
ทั้งหลายมีกามฉันทะเป็นต้น และอนุปาทิเสสปรินิพพานดับกิเลสและ
ขันธ์โดยไม่เหลือ.

36. อรรถกถาสมสีสัฏฐญาณุทเทส


ว่าด้วย สมสีสัฏฐญาณ


คำว่า สพฺพธมฺมานํ - แห่งธรรมทั้งปวง ความว่า แห่งธรรม
อันเป็นไปในภูมิ 3 ทั้งปวง.
คำว่า สมฺมาสมุจฺเฉเท - ในการตัดขาดโดยชอบ ความว่า
ในความดับด้วยดี ด้วยการตัดขาดสันตติด้วย.
คำว่า นิโรเธ จ อนุปฏฺฐานตา - ในความดับด้วยในความ
ไม่ปรากฏด้วย
ความว่า ดำเนินไปในนิโรธ ในความไม่ปรากฏอีก,
อธิบายว่า ไม่เกิดขึ้นอีก.
อักษรต้องสัมพันธ์ควบกับ สมฺมาสมุจฺเฉเท จ - ในการ
ตัดขาดด้วยด้วย, นิโรเธ จ - ในความดับด้วย, อนุปฏฺฐนาตา จ -
ในความไม่ปรากฏด้วย.

คำว่า สมสีสฏฺเฐ ญาณํ - ญาณในอรรถแห่งธรรมอันสงบ
และเป็นประธาน
ความว่า ธรรม 37 ประการมีเนกขัมมะเป็นต้น
ชื่อ สมะ - ธรรมอันสงบ, ธรรม 13 ประการมีตัณหาเป็นต้น ชื่อ
สีสะ - ธรรมอันเป็นประธาน. ชื่อว่า สมะ เพราะปัจนิกธรรมทั้งหลาย
สงบ, ชื่อว่า สีสะ เพราะเป็นประธานตามสมควรแก่การประกอบ
และเพราะเป็นยอด.
ธรรมอันสงบมีเนกขัมมะเป็นต้น และธรรมอันเป็นประธาน
มีสัทธาเป็นต้น ในอิริยาบถหนึ่งก็ดี ในโรคหนึ่งก็ดี ในชีวิตินทรีย์
หนึ่งด้วยการสืบต่อกันโดยเสมอภาคก็ดี มีอยู่แก่ผู้นั้น ฉะนั้น ผู้นั้น
จึงชื่อว่า สมสีสี ผู้มีธรรมอันสงบและธรรมอันเป็นประธาน, อรรถะ
คือเนื้อความแห่งสมสีสี ชื่อว่า สมสีสัฏฐะ ในอรรถะแห่งสมสีสะนั้น,
อธิบายว่า ในความเป็นสมสีสี.
ความเป็นแห่งสมสีสีย่อมมีแก่พระอรหันต์เท่านั้นผู้ปรารภวิปัส-
สนาในอิริยาบถหนึ่ง หรือในโรคหนึ่ง หรือในชีวิต ด้วยการสืบต่อ
กันโดยเสมอภาค แล้วบรรลุมรรค 4 ผล 4 ในอิริยาบถนั้นนั่นเอง
หรือในโรค ในชีวิต ด้วยการสืบต่อกันโดยเสมอภาค ปรินิพพานอยู่
ในขณะนั้นนั่นเอง ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า ญาณในความเป็นแห่ง
สมสีสีดังนี้. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ในปุคคลบัญญัติปกรณ์และอรรถ-
กถาแห่งปกรณ์ว่า

ก็บุคคลชื่อว่าสมสีสี เป็นไฉน ? การสิ้น
ไปแห่งอาสวะและการสิ้นไปแห่งชีวิตของบุคคล
ใด มีไม่ก่อนไม่หลังกัน บุคคลนี้เรียกว่า สมสีสี1.
ฟังทราบวินิจฉัยในสมสีสีนิทเทสดังต่อไป
นี้ คำว่า อปุพฺพํ อจริมํ - ไม่ก่อน ไม่หลัง ความว่า
ไม่ใช้ในภายหน้า ไม่ใช่ในภายหลัง คือ ในคราว
เดียวกันด้วยสามารถแห่งปัจจุบันสันตติ, อธิบาย
ว่า ในคราวเดียวกันนั่นเอง.
คำว่า ปริยาทานํ - การประหาณ ได้แก่
การสิ้นไปรอบ.
คำว่า อยํ - บุคคลนี้ ความว่า บุคคลนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกชื่อว่าสมสีสี. ก็สมสีสี
บุคคลนี้นั้นมีอยู่ 3 จำพวก คืออิริยาปถสมสีสี 1,
โรคสมสีสี 1, ชีวิตสมสีสี 1.

บรรดาสมสีสีบุคคลทั้ง 3 จำพวกนั้น บุคคลใด กำลังจงกรมอยู่
เริ่มตั้งวิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัต ยังจงกรมอยู่นั่นเองก็ปรินิพพาน,
บุคคลใด กำลังยืนอยู่เริ่มตั้งวิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัต ยังยืนอยู่
1. อภิ.ปุ. 36/32.

นั่นเองก็ปรินิพพาน, บุคคลใด กำลังนั่งอยู่เริ่มตั้งวิปัสสนาแล้วบรรลุ
พระอรหัต ยังนั่งอยู่นั่นเองก็ปรินิพพาน บุคคลนี้ชื่อว่า อิริยาปถ-
สมสีสี.

ส่วนบุคคลใด เกิดโรคอย่างหนึ่งแล้ว เริ่มตั้งวิปัสสนาในภายใน
โรคนั่นเองแล้วบรรลุพระอรหัต แล้วปรินิพพานไปด้วยโรคนั้นนั่น
แหละ, บุคคลนี้ชื่อว่า โรคสมสีสี.
บุคคล ชื่อว่า ชีวิตสมสีสี เป็นไฉน ? ศีรษะมี 131. บรรดา
ศีรษะเหล่านั้น อรหัตมรรคย่อมครอบงำอวิชชาอันเป็นกิเลสสีสะ, จุติ
จิตย่อมครอบงำชีวิตินทรีย์อันเป็นปวัตตสีสะ, จิตที่ครอบงำอวิชชา
ครอบงำชีวิตินทรีย์ไม่ได้. จิตที่ครอบงำชีวิตินทรีย์ก็ครอบงำอวิชชา
ไม่ได้. จิตที่ครอบงำอวิชชาเป็นอย่างหนึ่ง, และจิตที่ครอบงำชีวิตินทรีย์
ก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง. ก็ทั้ง 2 ศีรษะนี้ ของบุคคลใดย่อมถึงซึ่งการ
ครอบงำพร้อมกัน. บุคคลนั้นชื่อว่า ชีวิตสมสีสี.
ศีรษะทั้ง 2 นี้ จะมีพร้อมกันได้อย่างไร ? มีได้เพราะพร้อมกัน
โดยวาระ. อธิบายว่า การออกจากมรรคมีในวาระใด พระอริยบุคคล
ตั้งอยู่ในปัจจเวกขณญาณ 19 คือ
1. ตัณหา, มานะ, ทิฏฐิ, อุทธัจจะ, อวิชชา, สัทธา, วิริยะ, สติ, สมาธิ,
ปัญญา, ชีวิตินทรีย์, วิโมกข์, นิโรธะ.

ในโสดาปัตติมรรค มีปัจจเวกขณญาณ 5,
ในสกทาคามิมรรค มีปัจจเวกขณญาณ 5,
ในอนาคามิมรรค มีปัจจเวกขณญาณ 5,
ในอรหัตมรรค มีปัจจเวกขณญาณ 4,
แล้วหยั่งลงสู่ภวังค์ จึงปรินิพพาน.
การครอบงำศีรษะทั้ง 2 ชื่อว่าย่อมมีพร้อมกันได้ เพราะ
พร้อมกันโดยวาระนี้นั่นเอง เพราะเหตุนั้น บุคคลนี้ ท่านจึงเรียกว่า
ชีวิตสมสีสี. ก็ชีวิตสมสีสีบุคคลนี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์
เอาแล้วในที่นี้.

37. อรรถกถาสัลเลขัฏฐญาณุทเทส


ว่าด้วย สัลเลขัฏฐญาณ


สุตมยญาณ, สีลมยญาณ, และภาวนามยญาณ ที่เป็นบาทแห่ง
วัฏสงสาร ย่อมไม่ชื่อว่า สัลเลขะ - ธรรมเป็นเครื่องขัดเกลา, ญาณ
เหล่านี้ก็ดี ญาณเหล่าอื่นก็ดี เฉพาะที่เป็นบาทแห่งโลกุตระ ท่าน
เรียกว่า สัลเลขะ - ธรรมเป็นเครื่องขัดเกลา ฉะนั้น เพื่อที่จะแสดง
ญาณทั้งหลายที่เป็นไปโดยอาการขัดเกลาปัจนิกธรรม พระธรรม